เหตุการณ์ ของ รัฐประหาร 18 บรูว์แมร์

ในเช้าวันที่ 18 เดือนบรูว์แมร์ ในขณะที่ปารีสยังอยู่ในความไม่สงบจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ลูว์เซียง โบนาปาร์ต ประธานสภาห้าร้อย ได้บอกให้ผู้แทนและคณะดีแร็กตัวร์ทั้งหมดลี้ภัยเหตุจลาจลในปารีสไปยังพระราชวังแซ็ง-กลูบริเวณชานเมืองทางตะวันตกของปารีสและเปิดการประชุมขึ้นที่นั่น ผู้แทนในสภาฝ่ายนโปเลียนได้ชักจูงให้สมาชิกคณะดีแร็กตัวร์ทั้ง 5 คนลาออกและล้มเลิกระบอบดีแร็กตัวร์ แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส, รอเฌ ดูว์โก ยอมลาออก อย่างไรก็ตาม ดีแร็กตัวร์อีก 3 คนคือ ปอล บารัส, หลุยส์-เฌโรม กอเย และ ฌ็อง-ฟร็องซัว-ออกุสเต มูว์แล็ง ไม่ยอมลาออก

ในวันที่ 19 เดือนบรูว์แมร์ ที่พระราชวังแซ็ง-กลู การประชุมยังดำเนินต่อไปอย่างดุเดือด นายพลนโปเลียนซึ่งอดทนรออยู่นอกห้องประชุมนั้นทนไม่ไหว จึงนำทหารแกรนาเดียร์กองเล็ก ๆ เข้าไปยังห้องประชุมสภาในเวลากับที่บารัสกำลังทำเรื่องลาออก เมื่อนโปเลียนเข้าไปก็ผู้แทนตรงดิ่งเข้ามาใช้กำลังทำร้ายร่างกาย ลูว์เซียง โบนาปาร์ต ประธานที่ประชุมจึงบอกให้ทหารคอยยืนคุ้มกันนโปเลียน[1] หลังจากนั้น ผู้แทนบางส่วนได้มีการเสนอญัตติให้ประกาศว่านโปเลียนเป็นพวกนอกกฎหมายซึ่งจะทำให้นโปเลียนพ้นจากตำแหน่งทั้งหมด ในเวลาคับขันนั้นเอง ลูว์เซียงได้แอบหลบไปบอกทหารประจำสภาว่าสภากำลังถูกคุกคามจากผู้แทนบางส่วนที่มุ่งร้าย นั้นจากนั้นก็มีผู้แทนคนหนึ่งยึดดาบไปและพยายามแทงนโปเลียน ลูว์เซียงสั่งให้จับกุมผู้แทนคนนั้นออกไปจากห้องประชุม[2]

ในวันที่ 20 เดือนบรูว์แมร์ หลังข่าวการปองร้ายนโปเลียนแพร่สะพัดออกไปยังปารีส นโปเลียนก็ได้รับความเห็นอกเห็นใจจากประชาชนจำนวนมาก นายพลฌออากีม มูว์รา ยกทัพเข้าล้อมพระราชวังแซ็ง-กลู นโปเลียนใช้ข้ออ้างการถูกปองร้ายโดยสมาชิกสภานี้รัฐประหาร นายพลนโปเลียนประกาศสถาปนารัฐบาลชั่วคราวที่เรียกว่าคณะกงสุลซึ่งอำนาจทั้งหมดอยู่ที่กงสุลสามคน และได้ประกาศว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสได้สิ้นสุดลงแล้ว คณะกงสุลจะบริหารประเทศเป็นการชั่วคราวในขณะที่รัฐสภาดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ใกล้เคียง

รัฐประหาร รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 รัฐประหารในประเทศไทย รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 รัฐประหารในอิหร่าน พ.ศ. 2496